ด้วยผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในภาคเศรษฐกิจและสังคม บริษัทยังคงยึดมั่นภารกิจสำคัญในการส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารแก่ผู้บริโภคทั่วโลก และการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบภายใต้หลักปรัชญา 3 ประโยชน์สู่ความยั่งยืน คือ การดำเนินธุรกิจเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ ประชาชน และบริษัท รวมไปถึงการสร้างสมดุลยภาพในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ พร้อมร่วมปกป้องและพิทักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพอันเป็นต้นทางของการผลิตอาหาร รวมทั้งการร่วมบรรเทาความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก และเคารพต่อสิทธิมนุษยชนทุกภาคส่วน พร้อมทั้งมีรากฐานการกำกับดูแลกิจการที่ดี อันจะเป็นกลไกสำคัญสู่การมีระบบอาหารที่ยั่งยืนของโลก
“ความมั่นคงทางอาหาร” เป็นประเด็นหลักที่บริษัทให้ความสำคัญสูงสุด ด้วยการส่งมอบอาหารที่มีคุณภาพสู่ผู้บริโภค ส่งเสริมการเข้าถึงอาหารได้ทุกสภาวะการณ์ ทั้งยามปกติและยามวิกฤติ พร้อมกับการส่งเสริมโภชนาการที่ดี บนพื้นฐานสำคัญตามหลักธรรมาภิบาล สังคม และสิ่งแวดล้อม (ESG) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (SDGs) ที่ตรงกับประเด็นสำคัญของธุรกิจ ได้แก่ SDG 2 : การขจัดความหิวโหย ด้วยการส่งเสริมการเข้าถึงอาหาร ส่งเสริมอาชีพ สร้างแหล่งอาหารและเสถียรภาพอาหารทั้งระดับชุมชน ประเทศ และในต่างประเทศ SDG 6 : การจัดการน้ำ ด้วยโครงการอนุรักษ์แหล่งลุ่มน้ำสำคัญ การบริหารจัดการการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อลดการใช้น้ำ และ SDG 13 : การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยได้แสดงความมุ่งมั่นต่อองค์กรความร่วมมือ Science-Based Targets initiative (SBTi) ช่วยภาคธุรกิจกำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกโดยอ้างอิงจากหลักการภูมิอากาศวิทยา (Climate Science) ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) ในการขับเคลื่อนองค์กรมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net-Zero ภายในปี พ.ศ. 2593 หรือ ค.ศ. 2050 และการได้มาซึ่งวัตถุดิบสำหรับผลิตอาหารจะต้องเป็นไปตามนโยบายต่อต้านการตัดไม้ทำลายป่าและการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบของบริษัท
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อนเป็นอีกประเด็นสำคัญของบริษัท โดยในปี 2565 ซีพีเอฟสามารถยกเลิกการใช้ถ่านหินได้ 100% สำหรับกิจการในประเทศไทย ตามเป้าหมาย Coal Free 2022 โดยเปลี่ยนมาใช้พลังงานจากชีวมวลทดแทน ส่งผลให้สัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนของบริษัทอยู่ที่ประมาณร้อยละ 30 ของการใช้พลังงานทั้งหมด ถือเป็นบริษัทอันดับต้นๆ ในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารที่มีสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนสูงที่สุด ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 6 แสนตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย Net-Zero ในปี 2050
ในปีที่ผ่านมา บริษัทยังมุ่งเน้นการเป็น Food Tech Company บริหารธุรกิจผ่านระบบดิจิทัล นำฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) มาขับเคลื่อนองค์กรตามแนวทางการพัฒนาเกษตรอัจฉริยะ-โรงงานอัจฉริยะ (Smart Farm – Smart Factory) นำปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการเชื่อมโยงระหว่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (IoT) มาใช้ในการบริหารจัดการและประเมินผลการทำงานแบบทันที (Real Time) นอกจากนี้ บริษัทยังมุ่งเน้นการค้นคว้าและวิจัย โดยได้พัฒนาจุลินทรีย์โปรไบโอติกมายกระดับธุรกิจเลี้ยงสัตว์ ช่วยให้สัตว์มีภูมิคุ้มกันที่ดี สุขภาพแข็งแรงจากภายในสู่ภายนอก ส่งผลให้ผู้บริโภคได้รับผลิตภัณฑ์ที่ดี มีคุณภาพและปลอดภัย และยังได้คิดค้นนวัตกรรมสร้างระบบนิเวศ (Ecosystem) ด้านความปลอดภัยทางอาหารแบบครบวงจร ด้วยการนำ DNA Barcode มาใช้ตรวจสอบย้อนกลับเชิงลึก เพิ่มการยกระดับความปลอดภัยอาหาร สร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภค
การปรับตัวต่อความเปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดยั้งดังที่กล่าวมา เป็นหนึ่งในเหตุผลที่บริษัทได้รับความเชื่อมั่นจากผู้มีส่วนได้เสีย ผ่านการประเมินต่างๆ อาทิ ได้รับคัดเลือกเป็นสมาชิกของดัชนีความยั่งยืนโลกดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 8 ในกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารทั่วโลก (FOA Food Products) ประเภทตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) ได้เป็นสมาชิกดัชนี FTSE4Good ประเภทตลาดเกิดใหม่ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 และได้รับคัดเลือกให้อยู่ในรายชื่อหุ้นยั่งยืน (THSI) ประจำปี 2565 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 8 รวมถึงการได้รับรางวัล “ยอดเยี่ยม” ในการประเมินองค์กรธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน Low Carbon and Sustainable Business (LCSB) ประจำปี 2565 โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และรางวัล Superbrands Thailand 2022 รางวัล สุดยอดผู้นำผลิตภัณฑ์อาหาร เป็นต้น
ผลการดำเนินงานด้านสังคม
สวัสดิภาพสัตว์
ของฟาร์มสุกรแม่พันธุ์อุ้มท้องได้รับการเลี้้ยงดูในระบบคอกขังรวม
กำลังการผลิตของไข่ไก่ที่่มาจากการเลี้้ยงแบบปล่อยอิสระในโรงเรือนเพิ่มขึ้้น
ต่อปีเมื่อเทียบกับปี 2563 (มีกำลังการผลิตรวม 60 ล้านฟอง)
ของการเลี้ยงไก่เนื้อได้รับการเสริมสภาพแวดล้อมทางกายภาพ
สิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติด้านแรงงาน
มีการดำเนินการตรวจประเมินสถานะด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านในทุก 3 ปี ซึ่่งรวมถึงการประเมินความเสี่่ยง และผลกระทบในพื้้นที่่เสี่่ยงสูงของบริษัท
การพัฒนาและสนับสนุนชุมชน
ที่่เชื่่อมโยงกับการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัทได้รับการพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
การบริหารทรัพยากรบุคคล
สนับสนุนการศึกษาและการฝึกอบรมบุคลากรจำนวน
การตลาดอย่างรับผิดชอบ และฉลากผลิตภัณฑ์
ของผลิตภัณฑ์ใหม่ได้รับการพัฒนาเพื่อสุขภาพที่่ดีและมีคุณค่าทางโภชนาการที่มากขึ้น
เข้าถึงผู้บริโภคจำนวน ล้านรายต่อวัน
ด้วยอาหารและเครื่่องดื่่มเพื่่อสุขภาพที่่ดี